The striking thing in my road trip along the northern part of Spain is the contrast of landscapes, and how quickly it seems to change. One moment I felt in Northern Europe, then I imagined myself in the vast grassland of the USA; arriving in Rioja it was no different.
โร้ดทริปต่อเนื่องจากตอนที่แล้ว เรายังคงขับรถมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออก โดยเที่ยวนี้เราทั้งคู่รู้สึกกระชุ่มกระชวยเป็นพิเศษ เพราะเมืองที่เราตั้งใจแวะครั้งนี้อยู่ที่แคว้น Rioja (ริโอฮะ) หนึ่งในแหล่งผลิตไวน์ชั้นดีของสเปนนั่นเองคร่า!!! (เปรี้ยวปากขึ้นมาทันที)
Our first stop was Rioja Alta, and as we approached our little mountain town of Ezcaray I felt like I was driving through Alpine forests. This is the kind of place you come to relax and switch off from busy life, or to taste some seriously good food at the two-Michelin stars restaurant of Echaurren.
With no much to do in the area, it was pleasantly relaxing to walk around town for a few hours just to build our appetite for dinner. The friendly sommelier gave us a good introduction to Rioja wines to pair our traditional tasting menu, named A glance to this land. This restaurant also offers a menu entirely based on animal interiors, something bold and unique for such a gourmet establishment, but I was not brave enough to give it a try.
ระหว่างทางมีทั้งทัศนียภาพที่เป็นทุ่งหญ้ากว้างดูคล้ายกับที่อเมริกา บางช่วงก็มีต้นสนสูงชันเรียงรายตลอดสองข้างทางเหมือนกับยุโรปทางแถบสแกนดิเนเวียไม่มีผิด ความสับสนเริ่มมาเยือน “นี่เรากำลังอยู่ที่ไหนกันแน่นะ?” จนขับมาถึงโรงแรมซึ่งตั้งอยู่ในเมืองเล็กๆในแคว้นย่อย Rioja Alta ซึ่งชื่อก็บ่งบอกว่า ”อยู่ที่สูง” (จากคำว่า alta) ด้วยเป็นบริเวณที่ราบสูงใกล้กับภูเขา จากที่สับสนเป็นทุนเดิมคราวนี้กู่ไม่กลับ เพราะงานนี้ภูเขาก็มา! Ezcaray คือเมืองขนาดเล็กที่ล้อมรอบด้วยภูเขา อาคารบ้านช่องทำจากไม้สไตล์แบบบ้านภูเขาที่เราชื่นชอบ ตอนที่เราไปถึงเป็นช่วงเวลาเย็นอากาศกำลังครึ้มฟ้าครึ้มฝน เลยได้เดินเล่นชมเมืองแค่พอหอมปากหอมคอก่อนเวลาอาหารเย็น
ที่โรงแรม Echaurren แห่งนี้ ยังเป็นที่ตั้งของร้านอาหารมิชลินสองดาว El portal del Echaurren ซึ่งแน่นอนว่านักล่าดวงดาว (มิชลิน) อย่างเราจะพลาดไม่ได้ เมนูที่เรียกได้ว่าแปลกแหวกแนวกว่าร้านไหนๆคือ การเสิร์ฟอาหารที่ปรุงจากเครื่องในสัตว์ล้วนๆแบบฟูลคอร์ส ขนาดดิฉันที่ว่าแน่ๆ ชอบกินนักแลพวกตับไตไส้พุงทั้งหลาย ยังไม่กล้าลองสั่งเลยค่ะ งานนี้ยอมใจป๊อด ขอเล่นแบบ play safe สั่งเมนูชื่อเก๋ A glance to this land ที่ถูกยกมาเสิร์ฟรัวๆหลายจานจนนับไม่ถ้วน (ดูที่แผงชื่ออาหารในมือนั่น หนาปึ้ก! 😂) บริกรหนุ่มผู้เป็นมิตรแนะนำให้เรา pairing ทานคู่กับไวน์ท้องถิ่นรสละมุน ซึ่งเราก็ยอมตามใจฮีแต่โดยดี กินเสร็จเที่ยงคืนแบกพุงกะทิขึ้นห้องโรงแรมชั้นบนแล้วพุ่งทะยานสู่นิทราอย่างไม่รีรอ Diet starts tomorrow ค่ะซิส
The following day we moved to the lower, more popular, and wine producing part of the Rioja region, once again the landscape changed completely, my husband told me it reminded him of South Africa. We certainly could not miss visiting a couple of winemakers, so I decided to check out the opposite sides of the scale here, the oldest and most traditional and the new and progressive one.
Lopez de Heredia Vina Tondonia is the quintessential Rioja wine, made in the same way with traditional techniques for over a century. Visiting their headquarters is like a step in the past, full of history and akin to visiting a museum; they still make their own barrels and they strive to make their wines easy to drink yet able to age for many years. The only touch of modernity is the new wine tasting room designed by the legend Iraqi-British architect Zaha Hadid.
มาอีกแล้วค่ะสามีดิฉัน โร้ดทริปวันถัดมาฮีบอกว่านี่มันเหมือนอยู่ที่แอฟริกาใต้เลย!! พอค่ะพอที่รัก เราอยู่ที่ “สเปน” จอ-บอ-จบค่ะ เนื่องจากอาหารและไวน์เมื่อคืนย่อยสนิทแล้ววันนี้เราจึงเริ่มออกหาสิ่งมึนเมาเข้าตับกันใหม่ อันที่จริงก็แค่ขับรถไปชมไร่องุ่นและแวะชิมไวน์ไปตามเรื่องตามราวหนุ่มสาวขี้เมาเท่านั้นเอง
ที่แรกเราประเดิมด้วยการเยี่ยมชมโรงไวน์แบบดั้งเดิม ที่มีชื่อย๊าวยาวแถมยังจำย๊ากยาก Lopez de Heredia Vina Tondonia ที่นี่ยังคงมุ่งมั่นผลิตไวน์ตามกรรมวิธีดั้งเดิมเหมือนเมื่อหลายศตวรรษก่อน ใช้แรงงานคนในการเก็บเกี่ยว บ่มในถังไม้ที่ประกอบขึ้นเอง และเก็บไว้ในถ้ำมืดใต้ดิน ไม่มีการควบคุมและปรุงแต่ง ปล่อยให้ธรรมชาติและเวลาเป็นผู้กำหนดรสชาติ ถึงจะอนุรักษ์คอนเซ็ปท์ความเก่าแก่ดั้งเดิมไว้ทุกอย่าง แต่ห้องชิมไวน์รูป decanter ซึ่งได้รับการออกแบบจากสถาปนิกหญิงเชื้อสายอิรักผู้โด่งดัง Zaha Hadid ที่เพิ่งเสียชีวิตไปเมื่อสองปีก่อนนั้น กลับมีรูปแบบทันสมัย สร้างความแตกต่างที่โดดเด่น และเป็นจุดสนใจแก่ผู้ที่แวะเวียนมาเยี่ยมชมโรงไวน์เก่าแก่แห่งนี้
Baigorri is the total opposite, the revolutionary owner built a modern glass building to make his intentions clear, the best use of technology and modern techniques are employed to chase perfection in his wines. The most interesting part for me was the layout of the building, spread on seven different floors, the grapes arrive at the top one and several processes later the wine is aged in barrels seven floors below, so no machines are needed for transport, gravity only, as not to spoil the flavors during the process.
ไปที่อนุรักษ์นิยมสุดโต่งแล้ว คราวนี้ลองสลับขั้วข้ามไปดูทางฝั่งโมเดิร์นสุดขีดกันบ้าง ที่ Baigorri เขาใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยเข้ามาช่วยในทุกกระบวนการผลิต แค่รูปทรงตึกก็เก๋เกินบรรยาย ดูเรียบแต่โก้ในสไตล์มินิมอล ด้านในเป็นอาคาร 7 ชั้น ซึ่งแต่ละชั้นนั้นแยกขั้นตอนการผลิตไล่เรียงตามลำดับโดยเริ่มจากชั้นบนสุด เขาจะนำองุ่นที่เก็บเกี่ยวได้มาคั้น กรอง หมัก แล้วส่งต่อลงไปเป็นทอดๆจนถึงกระบวนการสุดท้ายที่อยู่ชั้นล่างสุด นั่นก็คือการเก็บบ่มในถังโอ๊คก่อนนำไปบรรจุขวด เป็นวิธีการที่ฉลาดและไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน ประหยัดเวลาในการขนส่งระหว่างขั้นตอน แถมยังควบคุมอุณหภูมิและคุณภาพได้อย่างยอดเยี่ยม
We stayed at Hotel Viura, a cool choice for modern urban design with a touch of art and a great restaurant on the ground floor. Located in a central position to this region, it was easy to reach any point within a few minutes drive. I could not miss a visit to the legendary Marques de Riscal, a luxurious vineyard hotel designed by Frank Gehry on a similar style to the Guggenheim Museum of Bilbao, just more hip and colorful. The architecture is amazing, and while I just enjoyed an easy lunch here, this place will be in my to-do list for any future trip in the area. For me it is a proof that humans can not just do harm to Nature, but when we are doing our best we can actually blend with Nature, respect and even improve what Mother Nature gave us: and wine is a good example.
คืนถัดมาเรายังอยู่ในแคว้นริโอฮะแต่ย้ายมาอีกโรงแรมหนึ่งซึ่งอยู่ใจกลางเมืองเข้ามาหน่อย Hotel Viura เป็นอีกหนึ่งโรงแรมที่ตกแต่งได้เก๋ถูกใจในสไตล์โมเดิร์นอาร์ต ห้องอาหารชั้นล่างก็ทำได้ดีทีเดียว วันรุ่งขึ้นก่อนจะอำลาแคว้นไวน์แห่งนี้ เราได้จองมื้อกลางวันไว้ที่โรงแรม Marques de Riscal โรงแรมหรูกลางไร่องุ่น ที่ออกแบบโดยสถาปนิกสุดติสต์ฝีมือฉมัง Frank Gehry งานออกแบบของเขาทุกชิ้นมีเอกลักษณ์โดดเด่นไม่เหมือนใคร มักเป็นที่กล่าวขวัญถึงเสมอ อย่างเช่น Guggenheim Museum ที่เมือง Bilbao (ดิฉันนี่ก็แฟนตัวยง) แค่แวะมาดูตัวอาคารก็คุ้มเกินคุ้มละค่ะ อาคารรูปทรงยูนิคสีม่วง-เงินขนาดมหึมาผุดขึ้นมากลางสวนกลางไร่ สวยฉีกทุกกฎ ทั้งยังเพิ่มมูลค่ามหาศาลให้กับเมืองชนบทเล็กๆ เกิดเป็นข้อคิดว่ามนุษย์เราถ้ารู้จักสร้างสรรค์ในทางที่ถูกที่ควร ไม่เบียดเบียนแต่เปลี่ยนมาเป็นส่งเสริม เราก็จะอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติได้อย่างกลมเกลียว (อ่ะ จบสวย!)