High altitude floating in Lake Titicaca

The last part of my trip to Peru took me to the shores of Lake Titicaca, on the southern part of the country at the border with Bolivia.

Since I only had a couple of days left, I wanted to make the most of my time there, so the long overnight train journey was not the best option, and I decided to catch a flight instead to the high altitude airport of Juliaca.

เมื่อขึ้นเขาแล้ว ก็ต้องลงห้วย! แต่ห้วยของเราในที่นี้คือทะเลสาป แถมไม่ใช่ทะเลสาบธรรมดาซะด้วย ทะเลสาปติติกากา หรือ Lake Titicaca คือทะเลสาปที่อยู่สูงที่สุดในโลกที่เรือสามารถสัญจรไปมาได้ (สูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 3,800 ม.) ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศเปรูติดกับชายแดนประเทศโบลิเวีย เหลือเวลาแค่สองคืนสุดท้าย เราเลยเลือกที่จะนั่งเครื่องบินเพื่อช่วยประหยัดเวลา อันที่จริงก็เสียดายอยู่เหมือนกัน เป็นที่กล่าวขานว่าเส้นทางรถไฟจากเมือง Cuzco มา Lake Titicaca นั้นสวยงามน่าดูชม แต่กินระยะเวลายาวนานถึง 10 ชม. เราจำต้องตัดช่องน้อยแต่พอตัว ขอยืนหนึ่งเรื่องเที่ยวแบบเจาะลึก เป้าหมายมีไว้พุ่งชน!

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

1942

1944

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

Upon arrival the hotel staff came to pick us up, along with an handful of other guests, and they immediately checked our hemoglobin levels before starting our two hour journey to the lodge, the exclusive Relais & Chateaux Titilaka.

At an altitude of 3800m, the lake is the highest navigable lake in the world, and it often takes a few days to get acclimatized to those altitudes, some people often requiring supplemental oxygen at times. But after having spent a few days at high altitudes already, our bodies were copying well so we had no troubles at all.

On our way to the lodge, we drove past the main city of Puno, which appeared not very interesting, other than the fact it often looked like a dusty building site, with most houses looking incomplete. Our driver quickly explained the reason behind this unusual look, that is most families decide to get planning permission for a three or four floor building, to then build one floor less, and avoid paying property taxes that are due on completion of the project.

พอออกจากสนามบิน Juliaca ทางโรงแรมได้จัดรถตู้มารับแขกที่จะเข้าเช็คอินวันนั้น นอกจากคู่เราแล้วยังมีคนอื่นๆอีก 4-5 คน อันดับแรกพนักงานจัดแจงนำเครื่องตรวจค่าฮีโมโกลบิน (โปรตีนในเม็ดเลือดแดง) ออกมาตรวจวัดแขกทุกคน เพื่อดูว่ามีใครอ่อนล้า หรือมีอาการผิดปกติอันเกิดจาก altitude sickness บ้าง (รายละเอียดของอาการป่วยอ่านได้ในบล๊อก Discover the Sacred valley of Peru) สรุปว่าทุกคนปกติแข็งแรงดี พนักงานจึงออกรถมุ่งหน้าสู่โรงแรมอย่างไม่รอช้า

เราขับรถผ่านเมืองหลักที่ชื่อ Puno (ปูโน) วันนั้นน่าจะมีงานเฟสติวัลอะไรสักอย่าง ผู้คนเลยออกมาเดินแห่บนถนนทำให้รถติดจนไปถึงโรงแรมล่าช้า พอออกจากเมืองเท่านั้นฉากวิวทิวทัศน์ก็ดูเปลี่ยนไป ภาพที่เห็นส่วนใหญ่คือทุ่งหญ้าในชนบท มีฟาร์มเลี้ยงลาและแพะกระจายอยู่ประปราย และมีอยู่สิ่งหนึ่งที่เราสังเกตเห็นและรู้สึกขัดตาเอามากๆ ซึ่งก็คือ บ้านของคนพื้นเมืองที่นี่ส่วนใหญ่เหมือนยังสร้างไม่เสร็จ ไม่มีหลังคาบ้าง เสาเข็มชั้นบนค้างเติ่งไว้บ้าง เหมือนโดนผู้รับเหมาหนีทิ้งงานไว้กลางคันยังไงอย่างงั้น พนักงานบอกเราว่าพวกเขาจงใจสร้างไม่เสร็จเพื่อจะได้เลี่ยงภาษี เซอร์-ไพรส์!! แบบนี้ก็ได้เหรอ?! คือทนเห็นสภาพบ้านตัวเองแบบนี้ทุกวันได้ไงนะ คนเปรูใจต้องแกร่งเบอร์ไหน

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

The Titilaka lodge sits isolated in a pretty remote location on the shores of the lake, but entering its gates I could immediately feel at home, thanks to its beautiful decor and the fantastic room with all amenities I could ask for, lake views included.

Aperitive was often provided by the campfire outside, a great opportunity to chat with other guests before dinner was served in the main dining room, and also to organize the tours for the following day. With no much nature at those high altitudes the lake main attractions are cultural: the indigenous people of Uros and Taquile.

ใช้เวลาเป็นชั่วโมงเหมือนกันกว่าจะมาถึงที่หมาย โรงแรมสุดเอ๊กซ์คลูซีฟที่สุดท้ายของเรา Titilaka Lodge เป็นโรงแรมในเครือ Relais & Chateaux ที่สนนราคาแพงที่สุดของทริป หนึ่งเพราะตั้งอยู่โลเกชั่นไกลโพ้นท่ามกลางธรรมชาติ สองเพราะคือแพ็คเกจแบบ all inclusive (ราคารวมอาหารเช้า-กลางวัน-เย็น และเครื่องดื่มทุกชนิดรวมทั้งแอลกอฮอล์) นาทีนี้ต้องยอมค่ะ แค่คิดว่ามาสร้างตรงนี้ได้ยังไงและแต่ละวันขนส่งอาหารสดกันยังไงก็ทึ่งแล้ว

ตัวโรงแรมเป็นอาคารไม้หลังย่อมตั้งอยู่ริมทะเลสาป แค่มาถึงที่ล๊อบบี้ก็รู้สึกอบอุ่นเหมือนบ้าน พอเช็คอินได้เข้าห้องปุ๊บ สิ่งแรกที่รีเควสขอคือ bubble bath อุ่นๆเพื่อผ่อนคลาย พนักงานจัดให้ทันทีไม่รีรอพร้อมดอกไม้-ธูปเทียน เอ้ย เทียนหอมเฉยๆ หลังจากนอนตีฟองแช่น้ำอุ่นสบายตัวแล้วก็ลงมาดื่มเรียกน้ำย่อยที่บาร์ก่อนจะทานอาหารเย็น (อาหารอร่อยมาก) ตอนนั้นมืดแล้วแต่ยังเห็นวิวทะเลสาปสวยสะกด พลันให้คิดว่าถ้ามีบ้านแบบนี้ซักหลังคงจะดีไม่น้อย… (หนึ่งในอาการเพ้อจาก high altitude)

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

Uros tribe built floating islands since the middle ages using totora reeds, living off fishing and trading with mainlanders, this allowed them to move their floating islands if threatened and relocate to a safer part of the lake. Peru being now a very peaceful country, those threats do not exist anymore, so most of their hundred-something islands are now very close to the town of Puno, while a handful are still further out, to cater for the other important source of income: tourism.

We arrived by speed boat to be welcome by a group of young men, they let us board their small boat, powered by sole force of hand and a cane (the lake was pretty shallow here) and then taken to the island. Few ladies showed us around explained how they lived, what they ate and how they traded. It is funny that they use totora reeds both in their diet and to build boats and the island itself. Sitting among the ladies as they were demonstrating how they barter was a great chance for a picture, until one of them put a dead bird in my lap and I couldn’t help but scream. While it did feel a bit like a mock-up village, it still represented an authentic and real way of life, possibly not practiced any longer by the families living by the shore but still very interesting to watch.

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

เรามีเวลาหนึ่งวันเต็ม จึงเลือกไปกับทัวร์ของทางโรงแรมซึ่งจัดพาล่องเรือไปดูวิถีชีวิตของชาวพื้นเมืองในละแวก เราตื่นมาขึ้นเรือแต่เช้าตรู่มุ่งหน้าไปยัง “เกาะลอยน้ำของชนเผ่าอูรอส” เป็นที่แรก ว่ากันว่าชนเผ่าอูรอส (Uros tribe) นั้นเคยอาศัยอยู่บนพื้นดินตามปกติ แต่ถูกรุกรานโดยชาวอินคาจึงต้องหนีมาสร้างเกาะลอยน้ำเพื่ออาศัย เกาะลอยนั้นสร้างมาจาก totora reed หรือกกชนิดหนึ่ง ซึ่งจะพบได้ในทวีปอเมริกาใต้และเกาะอีสเตอร์ ประโยชน์ของมันนอกจากใช้ฟางแห้งสร้างเกาะสร้างบ้านแล้ว ต้นอ่อนของมันยังกินได้อีกด้วย ในขณะที่แตกต่างกันอย่างลิบลับแต่คนที่นี่เรียกมันว่า banana ค่ะ

พอถึงจุดน้ำตื้นเรือใหญ่วิ่งต่อไม่ได้ ก็มีพี่ๆชายหนุ่มกำยำแจวเรือมารับพวกเราไปยังบ้านเขา พื้นเกาะที่ทำจากกกให้ความรู้สึกนุ่มๆยวบๆเล็กน้อย แต่ก็พอเดินทรงตัวได้ สาวๆในหมู่บ้านกำลังคั่วถั่วคั่วข้าวโพดกลิ่นหอมฉุย นักท่องเที่ยวได้รับอนุญาตให้มีส่วนร่วมกับกิจกรรมต่างๆได้เราเลยเลือกไปเล่นขายของกับแก๊งแม่บ้าน กลุ่มแม่บ้านแสดงให้เราเห็นว่าสมัยก่อนค้าขายกันอย่างไรโดยไม่ใช้เงิน นกหนึ่งตัวแลกมันได้กี่หัว ถั่วได้กี่กำก็ว่าไป มาวงแตกตอนที่แม่บ้านนางหนึ่งคงลืมไปว่าเรามาเนียนถ่ายรูปเล่นเฉยๆ ยื่นนกดิบถอนขนทั้งตัวใส่มือมาเต็มๆ กรี๊ดสิคะท่านผู้ชม ลูกทัวร์คนอื่นๆที่มาด้วยต่างพากันขำ ถือว่าเรามาช่วยชาวอูรอสเอนเตอร์เทนลูกค้าละกันเนาะ (คิด++++) เท่าที่ดูคิดว่าพวกเขาไม่น่าจะอาศัยกันอยู่บนเกาะแล้วค่ะ เป็นสถานที่จำลองเพื่อใช้แสดงวิถีชีวิตดั้งเดิมให้นักท่องเที่ยวดูซะมากกว่า อย่างว่าเราอยู่ในยุคที่ 4G เข้าถึงทุกที่ (ยกเว้นหลายพื้นที่ในประเทศไทย) แต่ถึงกระนั้นก็นับเป็นไฮไลท์ที่ไม่ควรพลาดชมถ้าได้มาเยือนทะเลสาปติติกากา

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

The second stop of our tour would be the island of Taquile, recognized as UNESCO World Heritage as a masterpiece of the oral and intangible heritage of humanity. We walked around this tiny island and discovered many interesting facts about its small population of 2000 people. They run their society on community collectivism, with fishing and potato cultivation as main sources for food, while their skills as fine knitters are enjoyed mostly by the tourist that visit and want to buy some hand-crafted textiles. We walked up to the top of the hill for lunch, the effort (remember we climbed above 4000m at this point) was repaid by a wonderful lunch with amazing views across the lake.

We got to talk a bit to the guide and the indigenous people, and found out some fun facts about their fashion style. Men wear beanie hats and its colour is based on their relationship status, plus they will let it fall on the side of their head depending on their current mood (right for happy, left for sad, behind for an average day).

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

สนุกสนานพอหอมปากหอมคอไกด์หนุ่มพนักงานเรือที่บอกว่าตัวเองหน้าเหมือนกบพร้อมชูรูปประกอบ (เหมือนจริงด้วย 555) ก็พาคณะทัวร์ย้ายมาอีกเกาะ เกาะ Taquile อ่านว่า “ตากีเล่” นะคะไม่ใช่ เตกีล่า เกาะเล็กๆกลางทะเลสาปที่มีประชากรแค่ 2,000 คนแต่ได้รับบันทึกเป็นมรดกโลกในเรื่องวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ ขอเล่าถึงเรื่องหมวกถักที่ผู้ชายใส่เป็นตัวอย่าง สีของหมวกนั้นจะบ่งบอกว่าผู้ชายคนนั้นโสดหรือแต่งงานแล้ว สำหรับเด็กก็จะใส่อีกสีอีกแบบ ส่วนทิศทางที่พับพู่หมวกลงยังบ่งบอกถึงอารมณ์ของวันนั้นด้วยว่า แฮปปี้ (พับขวา) เศร้า (พับซ้าย) หรือว่าเฉยๆ (พับไปด้านหลัง) และผู้ชายที่เกาะนี้ทุกคนจะต้องถักหมวกเป็น เพราะถ้าใครถักไม่เป็นหรือถักไม่สวย พ่อแม่ผู้หญิงจะไม่ยอมยกลูกสาวให้แต่งงานด้วยนาจา เอาซี่! แค่เรื่องหมวกยังพิธีรีตองขนาดนี้! เข้าใจแล้วว่าทำไมยูเนสโกถึงยกให้เป็นเกาะที่ควรอนุรักษ์ในเรื่องวัฒนธรรม

ที่นี่เราได้นั่งทานอาหารกลางวันพร้อมวิวสวยและเดินเล่นรอบๆ เกาะนี้ทำให้นึกถึงเกาะคาปรีของอิตาลีเวอร์ชั่นปราศจากความลักชัวรี่ พวกเขาอยู่กันอย่างพอเพียงและหลอมรวมชีวิตเข้ากับธรรมชาติ ปลูกผัก จับปลา เลี้ยงสัตว์เองไม่ต้องนำเข้าหรือพึ่งพาสังคมอื่น เป็นวิถีชีวิตที่มีความสุขและน่าอิจฉามากทีเดียว คุณสามีบอกว่าถ้าได้อยู่ที่นี่คงจะพับหมวกไปทางขวาทุกวัน (จ้าาาา)

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

I could not have wished for a better end of such an amazing trip, this country is so rich in history and culture that you will find something amazing in the most remote corners. Being now home, with all my comforts and daily routines, I often think about those lake people, with their simple way of life, but always with a smile on their face to remind us that simplicity is often the key to happiness.

เย็นวันนั้นทางโรงแรมก่อกองไฟด้านนอกไว้รออยู่แล้ว คณะทัวร์ของเรากลับมาด้วยรอยยิ้มและพลังบวกที่ได้จากชาวพื้นเมืองที่เกาะ ถึงเวลาดื่มฉลองเพื่ออำลาให้กับคืนสุดท้ายของทริปที่สวยงาม การท่องเที่ยวไม่ได้ให้แค่ความสุขสบายหรือตื่นตาตื่นใจเพียงชั่วครู่ แต่ทุกครั้งที่เรากลับจากทริปเรามักจะได้คำตอบและพลังดีๆให้กับชีวิตเสมอ ชีวิตที่มีความสุขคือชีวิตที่เรารู้สึกพอใจและรู้จักพอเพียง จะโหยหาอะไรไปมากมายทำไมในเมื่อทุกอย่างมันอยู่ที่ใจและวิธีการมองโลกของเรา …ก็แค่นั้นเอง 🙂

 

 

 

 

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

%d bloggers like this: