Discover the Sacred Valley of Peru

Our first stop in the cultural heart of Peru will be in the town of Urubamba, in the Sacred Valley of the Inca on the Andes mountain range.

After landing in Cusco, we were driven a couple of hours to this local town strategically located to explore many of the ancient Inca archeological sites. In all fairness, the choice of itinerary was not only dictated by our will, but also concerns about altitude sickness.

เราจับเครื่องจาก Lima มาลงที่ Cusco เมืองหลวงเก่าแก่แหล่งอารยธรรมของเปรู ทั้งนี้ทั้งนั้นจุดหมายแรกของเรากลับไม่ใช่ที่ Cusco แต่คือ Urubamba เมืองเล็กๆใน Sacred Valley หุบเขาศักดิ์สิทธิ์ของชนเผ่าอินคา เรากำลังพูดถึงบริเวณเทือกเขาแอนดีส  (Andes mountain) ซึ่งอยู่สูงเหนือระดับน้ำทะเลหลายพันเมตร ฉะนั้นยุทธศาสตร์ที่คุณสามีวางไว้คือเราควรจะเที่ยวไล่ระดับจากที่ต่ำขึ้นที่สูง เพื่อให้ร่างกายค่อยๆปรับตัว จะได้ไม่เกิดอาการขาดอ๊อกซิเจน หรือที่เรียกว่า altitude sickness หุบเขา Sacred Valley นั้นตั้งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 2700 ม. ในขณะที่เมือง Cusco อยู่สูงกว่าที่ระดับ 3300 ม. และนี่คือเหตุผลหลักที่เรามุ่งหน้าไปเที่ยวที่เมือง Urubamba กันก่อน

Cusco city sits at 3300 meters of elevation so staying here can cause uncomfortable symptoms such as headache, nausea or even insomnia, for those not used to high altitude, not exactly what you need while on holiday.

Driving down to the Sacred Valley first, being at around 2700m, meant our body would have few days to gradually adapt to the altitude (and less oxygen available) before heading up again to Cusco.

As if the peaks of the Andes were not breath-taking enough, the uphill walks could be pretty hard and take the rest of your breathe away, which is why people often recommend to drink coca tea to help with energy and fight altitude sickness. Coca cultivation is in fact allowed in those areas, being such an important part of the local culture and very far from the dangerous drug sold in the Western seedy cities.

วิธีดั้งเดิมที่ชาวพื้นเมืองใช้เพื่อบรรเทาอาการ altitude sickness คือการเคี้ยวใบโคคา (ที่เค้าเอามาทำโคเคนนั่นแหละค่ะ) ที่เปรูไม่ถือว่าเป็นสิ่งผิดกฎหมาย อาจเพราะมีสรรพคุณเป็นยารักษาและเป็นพืชท้องถิ่น แต่เตือนไว้ก่อนว่าอย่าริอ่านซื้อกลับประเทศเชียวนะคะ เผลอๆจะโดนจับตั้งแต่ที่สนามบิน กลับมาพูดถึงการรักษาอาการมึนหัวจากการขาดอ๊อกซิเจนกันต่อ สำหรับนักท่องเที่ยว level beginner อย่างเราๆที่ไม่เคยลองมาก่อน การเคี้ยวใบโคคาโดยตรงอาจจะให้ผลข้างเคียงที่แรงไป จึงแนะนำเป็นลูกอมโคคาหรือจิบชาโคคาแทน นับว่าช่วยได้ดีเลยค่ะ ตลอดทริปเราไม่มีอาการหน้ามืดวิงเวียนแต่อย่างใด แต่ก็เห็นคนล้มพับลงต่อหน้าต่อตาหลายรายอยู่เหมือนกัน

I absolutely loved our Hotel Tambo del Inka, a riverside retreat with all comforts and great views, but also walking distance from the town Urubamba which I was very keen to explore. I could notice the difference in people straight away, the Andine population is not only different looking from other Latin Americans, but also very attached to their culture and customs, and with their colourful clothes it was real fun to walk among them.

While certainly popular with visitors, they seemed not to be fazed and they carry on living their lives as in the past, giving the town an real authentic feel without touristy shops.

Hotel Tambo del Inka รีสอร์ทห้าดาวครบวงจรในราคา all inclusive (รวมอาหารเช้า-เย็น) นอกจากวิวอลังบวกกับโลเกชั่นเลิศ เพราะตั้งอยู่ริมแม่น้ำในเมือง Urubamba แล้วนั้น ห้องสปาและสระว่ายน้ำยังดีงามอีกด้วย ออกไปตะลอนๆข้างนอกพอกลับมาถึงโรงแรมก็หายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้ง เป็นที่ที่ได้พักผ่อนชาร์จพลังจริงๆ และการได้นั่งทานอาหารเช้าริมเตาผิงนั้นเป็นอะไรที่ cosy ที่สุด

ส่วนเมือง Urubamba ก็แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตที่เรียบง่ายของชาว Andine ทุกคนแต่งตัวด้วยผ้าพื้นเมืองลวดลายสีสด ผู้หญิงมักจะถักเปียสองข้างและสวมหมวกทรงสูง ออกมาเดินจับจ่ายซื้อของที่ตลาดสดและร้านค้า วันนี้เราได้ลองกินอาหารพื้นเมือง เดาว่าเป็นร้านดังร้านนึงในตลาด ในหนึ่งจานมีข้าวสวย ไก่ย่าง/ทอด กล้วยปิ้ง และมันฝรั่งทอด แต่งขอบด้วยผักสลัด มะเขือเทศ และแตงกวา เอ๊ะ! ดูคุ้นๆ ไหงแต่งจานเหมือนอาหารตามสั่งบ้านเราไม่มีผิดเพี้ยน (ใครก็อปใครล่ะนั่น) ส่วนรสชาตินั้นพูดตามตรงว่าไม่มีความอร่อยเลยค่ะ ลองนึกถึงการเคี้ยวข้าวกับกล้วยปิ้งนิ่มๆและมันฝรั่งในคำเดียวกัน มีไก่ที่พอมีรสปะแล่มๆบ้าง แต่ก็ไม่ได้หมักซอสเข้มข้นเข้าเนื้อเหมือนที่ไทยเรา ว่าแล้วก็จิบเบียร์ย้อมใจกันไปค่ะ

One of the highlights of my stay was the opportunity to meet a local shaman and perform a sacred ceremony to pay respect to Pachamama (Mother Earth). Victor is one of few shaman practitioners of Inca descendants, regarded to have a special connection to the world of spirits and Nature, and acting as a medium between our World and the Spiritual World. Spirituality has always been very important in this area, and the local people feel a special connection with Nature which I believe is very important.

Our body got cleansed with flower-infused water before the shaman could use coca leaves to carry out the ritual. Those leaves are regarded as sacred and also used to predict the fate of those undertaking the ritual itself. Believe it or not, it is amazing how he could see and understand my feelings and touch my soul, so when he told me I already gained all seven colours of chakra I was very pleased and relaxed.

ทริปนี้มีเรื่องตื่นเต้นมาเล่าให้ฟังด้วยค่ะ เราได้มีโอกาสทำพิธีศักดิ์สิทธิ์ที่สืบต่อกันมานมนานของชาวอินคา นั่นคือการสักการะ “เทพมารดา” หรือ Pachamama ในภาษาท้องถิ่น ซึ่งเป็นเทพที่ชาวพื้นเมืองในแถบภูเขาแอนดีสให้ความเคารพสูงสุด ผู้ทำพิธีหรือ shaman จะเตรียมดอกไม้ ขนมหวาน เงิน-ทอง ของสักการะมาจัดเรียงเป็นชั้นๆสวยงามใส่ห่อผูกอย่างดี แล้วจะนำขึ้นไปวางสักการะบนภูเขาเพื่อให้เทพมารดาปกปักรักษาและอวยพรเรา shaman คนนี้เขาบอกว่าเป็น 1 ใน 4 คนในเมือง Cusco ที่มีเชื้อสายอินคา 95% ทางโรงแรมจัดสถานที่ในสวนกว้างล้อมรอบด้วยภูเขาให้เราทำพิธีนี้ บรรยากาศจึงดูขลังและมีพลังอย่างบอกไม่ถูกค่ะ

ก่อนทำพิธีสักการะ shaman จะทำการชำระร่างกายและจิตใจเราด้วยน้ำพิเศษกลั่นจากดอกไม้ ให้ความรู้สึกเย็นวาบและมีกลิ่นหอมเมื่อสัมผัสผิวหนัง พอเสร็จพิธีบูชาเขาก็เริ่มทำนายชีวิตและอนาคตจากการอ่านตำแหน่งของใบโคคา ไม่น่าเชื่อว่าแม่นมากๆค่ะ ตอบทุกสิ่งที่อยากรู้อยู่ในใจโดยไม่ต้องถาม

shaman บอกว่าเรามี chakra หรือ จักระ ถึง 7 สี (ครบทั้ง 7 จุด) คือขั้นสูงสุดแห่งการรับรู้ตัวเองและเปิดเชื่อมกับพลังธรรมชาติ ถ้าหนังจีนคงประมาณว่าบรรลุลมปราณขั้นสูงสุด! (เป็นไปได้?!) ในขณะที่สามีมีเพียง 4 สี ยังต้องเรียนรู้และฝึกเพื่อไปถึงขั้นต่อๆไปนะจ๊ะเบบี๋

Even the local resorts are not catering for mass tourism, but rather higher end tourists that want to immerge themselves into the local way of life.

A great example was the pleasant outdoor barbecue I had at Hotel Sol y Luna – Relais & Chateaux, sipping wine while enjoying a horse and dance show in local costumes.

สุ่มกินในตลาดแล้วไม่เวิร์ค อีกวันเราเลยจองร้านอาหารในโรงแรมเพื่อความชัวร์ (เจ็บแล้วต้องจำ 555) นั่งรถเครื่องมาถึงโรงแรม Hotel Sol y Luna – Relais & Chateaux โอ้โห สวยไปอีก! มันคือสวรรค์แห่งสวนทรอปิคอล! มีทั้งต้นไม้ดอกไม้หลากสายพันธุ์ บ้านไม้โคโลเนียลสีชมพู ฟาร์มม้า ตบท้ายด้วยวิวภูเขาแบบพาโนราม่า บรรยากาศดีซะจนไม่อยากเชื่อว่านี่คือบ้านนอกของเปรู ตรงที่เรานั่งทานข้าวกลางวันมีการแสดงโชว์ขี่ม้าและเต้นรำในชุดพื้นเมืองอีกด้วย บทจะหรูหราขึ้นมาพี่เปรูเค้าก็จัดเต็มแม๊กแบบไม่ปราณีใคร

There are a few sites nearby: the salt terraces of Salinas de Maras are the ideal spot for some cool pictures, those salt ponds have been used to extract salt since the Inca times and still currently managed by the local population, so each family is allocated one or more small ponds for their use. We then moved towards the interesting archeological remains of Moray, near the village Maras, where the ancient Incas built circular terraces and managed to create small microclimates for their agriculture, a very advanced method for their time.

อีกวันเราเหมาเช่ารถพร้อมไกด์คนขับเพราะต้องเดินทางออกไปไกลทีเดียว วิวระหว่างทางคือบรรยากาศชนบทที่ดูสบายตา ทุ่งหญ้า ป่าเขา ฝูงแกะ ฝูงลา บ้านช่อง ทุกอย่างมันสวยและเข้ากันโดยไม่ต้องปรุงแต่ง

จุดหมายแรกคือบ่อเกลือสีขาวอมชมพูขนาดใหญ่ที่ทำสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยอินคา Salinas de Maras ปัจจุบันชาวบ้านในละแวกต่างถือกรรมสิทธิ์กันคนละบ่อสองบ่อ เป็นจุดที่ถ่ายรูปสวยมากๆเลยค่ะ แต่ก็ต้องเดินระวังไม่เผลอไปเหยียบบ่อของใคร และได้โคลนเปรอะรองเท้าเป็นของแถม ขับต่อไปอีกซักพักใหญ่ไม่ไกลจากเมือง Maras ก็มาถึงสิ่งอัศจรรย์อีกแห่งที่สร้างขึ้นโดยฝีมือชาวอินคา Moray พื้นที่การเกษตรรูปวงกลมขนาดกว้างไล่หลั่นเป็นชั้นๆลึกลงไปลักษณะคล้ายก้นหอย ไม่มีใครรู้สาเหตุที่แท้จริงว่าทำไมชาวอินคาถึงสร้างแปลงเกษตรรูปทรงนี้ แต่ก็มีการคาดเดาว่าพวกเขาจงใจทำขึ้นเพื่อควบคุมอุณหภูมิให้กับพืชที่ปลูก จากที่ลองวัดดูอุณหภูมิของวงกลมชั้นบนกับชั้นล่างสุดนั้นต่างกันถึง 12 องศา นาทีนี้คงต้องยอมรับว่าชาวอินคานั้นฉลาดปราดเปรื่องในเรื่องสร้างจริงๆค่ะ

After a few days exploring both old and present culture, I was ready to jump of an early train to Machu Picchu, the long awaiting highlight of any trip to Peru.

วันสุดท้ายที่อุรุบัมบา เรางัวเงียตื่นแต่เช้าเพื่อรีบมาขึ้นรถไฟสายพิเศษ อันที่จริงก็ไม่ได้ลำบากอะไรเพราะสถานีรถไฟอยู่ในบริเวณโรงแรมนี่เอง (บอกแล้วว่าโลเกชั่นชนะเลิศศศ) ใช่ค่ะ เรากำลังมุ่งหน้าออกเดินทางไปยังดินแดนลับแลที่เราฝันถึงมาตลอด เดี๋ยวก็จะได้เจอกันแล้ว Machu Picchu รอฉันอีกอึดใจเดียวนะ…

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

%d bloggers like this: